บุชุเปลี่ยนไปความหมายก็เปลี่ยนแปลง


        คันจิทุกตัวล้วนมี บุชุ (部首) หรือรากศัพท์ซึ่งมีความหมายในตัวเองเป็นส่วนประกอบ เมื่อนำมาประกอบรวมกับเส้นของคันจิตัวอื่น ๆ แล้ว ความหมายของรากศัพท์และความหมายของคันจิจึงมีความเชื่อมโยงกัน เช่น

[อุมิ] = ทะเล มีรากศัพท์มาจาก ⺡[ซันซุย] = น้ำ
[คุซุริ] = ยา มีรากศัพท์มาจาก [คุซะ] = หญ้า

        การจดจำคันจิผ่านบุชุจึงเป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้จดจำความหมายและวิธีการเขียนคันจิได้แม่นยำยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้จำแนกความแตกต่างของคันจิที่มีส่วนประกอบใกล้เคียงกันได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นคันจิที่มีหน้าตาคล้ายกันต่อไปนี้...

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 1. 持 vs 待

        เริ่มต้นด้วยคันจิที่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นคุ้นหน้าคุ้นตากันดีตั้งแต่เรียนระดับต้น นั่นคือ () [มทสึ] = ถือ, มี และ () [มัทสึ] = รอ หากสังเกตส่วนประกอบของคันจิทั้งสองคำนี้จะพบว่า มี 寺 [เทระ] = "วัด" เป็นส่วนประกอบทางด้านขวาเหมือนกัน ส่วนบุชุที่เป็นส่วนประกอบทางด้านซ้ายนั้นแตกต่างกัน

 

ขอบคุณรูปภาพจาก – http://kakijun.com/c/6301.html


- คำว่า 持(つ) [มทสึ] = ถือ, มี มีรากศัพท์มาจาก 扌[เทเฮน] = มือ

ตัวอย่างคำศัพท์คันจิที่มีบุชุนี้เป็นรากศัพท์ เช่น 指 [ยูบิ] = นิ้วมือ / 捨てる [ซุเตรุ] = ทิ้ง / 押す [โอซุ] = กด
 

ขอบคุณรูปภาพจาก – http://kakijun.com/c/5f85.html


- คำว่า 待(つ) [มัทสึ] = รอ มีรากศัพท์มาจาก [เกียวนิมเบน] = ก้าวเดิน

ตัวอย่างคำศัพท์คันจิที่มีบุชุนี้เป็นรากศัพท์ เช่น 行く [อิกุ] = ไป / 径 [เค] = เส้นผ่านศูนย์กลาง / 後 [อาโตะ] = ต่อไป, ภายหลัง

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 2. 句 vs 旬 

        คันจิคู่ต่อมามีบุชุเป็นส่วนประกอบที่ตำแหน่งด้านล่างของอักษร นั่นคือ [คุ] = ถ้อยคำ, วลี และ [จุน] = ระยะเวลาสิบวัน แม้ว่าทั้งสองคำนี้จะมีบุชุเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมเหมือนกัน แต่กลับมีความหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 

ขอบคุณรูปภาพจาก – http://kakijun.com/c/53e5.html


- คำว่า [คุ] = ถ้อยคำ, วลี มีรากศัพท์มาจาก [คุชิ] = ปาก

ตัวอย่างคำศัพท์คันจิที่มีบุชุนี้เป็นรากศัพท์ เช่น 呼ぶ [โยบุ] = เรียก / 吐く [ฮากุ] = อาเจียน / 商う [อากินาอุ] = ค้าขาย
 

ขอบคุณรูปภาพจาก – http://kakijun.com/c/65ec.html


- คำว่า [จุน] = ระยะเวลาสิบวัน มีรากศัพท์มาจาก [ฮิ, นิชิ] = ดวงอาทิตย์, วัน

ตัวอย่างคำศัพท์คันจิที่มีบุชุนี้เป็นรากศัพท์ เช่น 星 [โฮชิ] = ดวงดาว / 時 [โทกิ] = ตอน, เวลา / 春 [ฮารุ] = ฤดูใบไม้ผลิ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 3. 矢 vs 失 

        ลองมาดูบุชุที่เป็นทั้งคำศัพท์และรากศัพท์กันบ้าง นั่นคือ [ยะ] = ลูกศร, ลูกธนู ซึ่งมีหน้าตาคล้ายคลึงกับคำว่า [ชิทสึ] = สูญเสีย หากมองผ่าน ๆ คันจิทั้งสองตัวนี้แทบจะไม่แตกต่างกันเลย ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบหรือจำนวนเส้น แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าจุดที่แตกต่างกันก็คือ เส้น 人 ของ 矢 และ 失 มีความสูงไม่เท่ากัน

 

ขอบคุณรูปภาพจาก – http://kakijun.com/c/77e2.html


- คำว่า [ยะ] เป็นรากศัพท์ที่มีความหมายว่า ลูกศร, ลูกธนู

ตัวอย่างคำศัพท์คันจิที่มีบุชุนี้เป็นรากศัพท์ เช่น 知る [ชิรุ] = รู้ 短い [มิจิไก] = สั้น 矯める [ทาเมรุ] = ดัดให้ตรง
 

ขอบคุณรูปภาพจาก – http://kakijun.com/c/5931.html


- คำว่า [ชิทสึ] = สูญเสีย มีรากศัพท์มาจาก [ได] = ใหญ่

ตัวอย่างคำศัพท์คันจิที่มีบุชุนี้เป็นรากศัพท์ เช่น 天 [เทน] = ท้องฟ้า, สวรรค์ 太い [ฟุโตอิ] = อ้วน [อตโตะ] = สามี
 

ขอบคุณรูปภาพจาก – https://skdesu.com/en/bushu-radicals-structures-of-kanji-and-their-variants/


        บุชุเป็นส่วนประกอบหนึ่งของคันจิที่อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ของอักษร ไม่ว่าจะเป็นด้านซ้าย ด้านขวา ด้านบน ด้านล่าง เส้นที่ล้อมรอบ เส้นที่ลากลงมาจากด้านบน หรือเส้นที่ลากจากด้านซ้ายไปทางด้านล่างขวา หากสังเกตส่วนประกอบของคันจิไปพร้อมกับจดจำความหมายไปด้วย จะพบว่าคันจิที่มีบุชุตัวเดียวกันเป็นส่วนประกอบมักจะมีความหมายสอดคล้องกัน เช่น คันจิที่มีบุชุเป็น 扌[เทเฮน] ก็มักจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับมือหรือการกระทำที่ใช้มือ พอมีวิธีช่วยจำแบบนี้แล้ว นอกจากจะช่วยให้จำความหมายของคันจิได้ง่ายขึ้น เวลาเจอคันจิที่ไม่รู้จักก็ลองใช้เทคนิคนี้ช่วยเดาความหมายดูก็ได้นะ :D

        หากใครสนใจการเรียนรู้คันจิหรือต้องการเพิ่มพูนคลังคำศัพท์คันจิให้มากขึ้น สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรมก็ขอแนะนำหนังสือชุดใหม่ล่าสุด "คันจิ JLPT" ประกอบด้วย "350 คันจิ JLPT N3" "550 คันจิ JLPT N2" และ "800 คันจิ JLPT N1" ที่รวบรวมคันจิแต่ละระดับในรูปเล่มขนาดกะทัดรัด สะดวกต่อการทบทวนก่อนสอบ JLPT  เนื้อหาคันจิในเล่มจัดเรียงโดยจัดกลุ่มให้คันจิที่มีส่วนประกอบคล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน พร้อมแสดงลำดับขีดของคันจิ เสียงอ่านของคันจิทั้งเสียงอ่านแบบคุน (เสียงอ่านแบบญี่ปุ่น) และเสียงอ่านแบบอง (เสียงอ่านแบบจีน) รวมถึงมีคำศัพท์คันจิที่คัดสรรมาแล้วว่าเป็นคำศัพท์ที่มีโอกาสออกสอบสูง อีกกว่า 1,000 คำ !

        จำหน่ายแล้ววันนี้ที่ร้านหนังสือทั่วไป ศูนย์หนังสือ ส.ส.ท. ทั้ง 2 สาขา (สุขุมวิท 29 และพัฒนาการ 18) หรือสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ tpabook.com/ แอป Shopee (ค้นหาร้านค้าชื่อ tpabookcentre) และแอป Lazada (ค้นหาร้านค้าชื่อ tpabook) กันได้เลย ~

ข้อมูลอ้างอิง :

https://dictionary.goo.ne.jp/kanji/
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_kanji_radicals_by_frequency
https://www.fluentu.com/blog/japanese/similar-kanji/

http://kakijun.com/


กุลวรากร เอกอัครากุล TPA Press